- จัดทำรางร้อยสายไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณใต้ฝ้าเพดาน หลังคา และภายนอกอาคาร เพื่อป้องกันอันตรายจากสายไฟฟ้าชำรุด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กระแสไฟฟ้ารั่ว
- เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกอาคารแบบกันน้ำและมีฝาครอบปิด เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งตรวจสอบให้พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย
- ติดตั้งสายดินและเบรกเกอร์ควบคุมไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงเป็นโลหะ และอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
ใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
- เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน
- ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หากชำรุดให้แจ้งช่างดำเนินการซ่อมแซม
- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด อาทิ เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ สายดิน หากกระแสไฟฟ้ารั่ว
จะช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด
- ห้ามใช้หรือสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือยืนบนที่ชื้นแฉะ เพราะเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูด และ ป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า
- ไม่ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเอง เนื่องจากความไม่ชำนาญและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- เคลื่อนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย
- ไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะหากฟ้าผ่าลงมาบริเวณใกล้เคียง จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย และผู้ใช้งานได้รับอันตราย
- ไม่เข้าใกล้แนวสายไฟ เสาไฟฟ้า และไม่สัมผัสวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เพราะหากกระแสไฟฟ้ารั่ว จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด
- โค่นต้นไม้และตัดแต่งกิ่งไม้ที่พาดสายไฟฟ้า เพื่อป้องกันพายุลมแรงพัดต้นไม้ล้มหรือเกี่ยวสายไฟขาด
- กรณีพบเห็นสายไฟฟ้าขาด ห้ามเข้าใกล้หรือใช้วัสดุเขี่ยสายไฟ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าดำเนินการแก้ไข
ทั้งนี้ การตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ปลอดภัยและเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า จะช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดในช่วงฤดูฝนได้
#ด้วยความห่วยใยจากนายกอ้อย
#องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง
#