อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล หัวดง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ตั้งอยู่ทางเหนือของอำเภอเก้าเลี้ยว ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ เก้าเสี้ยว ประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจาก ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 25 กิโลเมตร
1. ที่ตั้ง
ที่ตั้ง 195 หมู่ที่ 2 ตำบลหัวดง อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบางตาหงาย ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเก้าเลี้ยว ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเขาดิน อำเภอเกล้าเลี้ยว ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย
ภูมิประเทศ
โดยทั่วไปพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปวนทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ

การเมืองการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง มีคณะผู้บริหาร จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. นายกองค์การบริหารส่วน ตำบล 1 คน
2. รองนายก อบต.จำนวน 2 คน และสมาชิกมีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน
รวมเป็น 24 คน มีหน้าที่ต้องดูแลและรับผิดชอบ ประชาชนในพื้นที่ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน
ตำบลหัวดง / หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 (บ้านหัวดงเหนือ) หมู่ที่ 7 (บ้านคงบ้านโพธิ์)
หมู่ที่ 2 (บ้านท่าใหญ่) หมู่ที่ 8 (บ้านตะกุกหิน)
หมู่ที่ 3 (บ้านหัวดงใต้) หมู่ที่ 9 (บ้านหนองแพงพวย)
หมู่ที่ 4 (บ้านคลองท่าวัว) หมู่ที่ 10 (บ้านกระเบื้อง)
หมู่ที่ 5 (บ้านหาดเสลา) หมู่ที่ 11 (บ้านหัวดงเหนือ)
หมู่ที่ 6 (บ้านเนินพะยอม) หมู่ที่ 12 (บ้านคลองช้าง)

--- ไม่มีข้อมูล ---

วิสัยทัศน์
“การคมนามคมสะดวก แหล่งน้ำยั่งยืน  ชุมชนเข็มเข็ง สืบสานงานประเพณี”
พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
1 การพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
2 การส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน
3 การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง
4 การส่งเสริมด้านการศึกษาและกิจกรรมการศึกษา
5 การส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ
6 การส่งเสริมงานและกิจกรรมสาธารณสุข
7 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8 การส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
9 การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพกาย จิต และสังคมที่ดี
10 การสังคมสงเคราะห์ผู้ที่ด้อยโอกาสทางสังคม
11 การส่งเสริมขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
12 การส่งเสริมชุมชนให้แข็งแรง
13 การพัฒนาการเมือง การบริหารและองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น